คำว่า ขะแมร์ คือ คำที่กลุ่มคนในประเทศไทย (สุรอนทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ สระแก้ว ตราด) ในประเทศเวียดนาม ประเทศกัมพูชา เรียกกลุ่มชาติพันธุ์ตัวเองว่า ขะแมร์ แต่มีบางคนบอกว่า ขะแมร์เป็นคำเรียกคน ขะแมร์สุรินทร์อย่างเดียว แต่ที่จริงแล้วเป็นคำเรียกชาติพันธุ์เดิม ของกลุ่มขะแมร์ โดยแบ่งเป็น ๓ ส่วนก็คือ
ขะแมร์เลี (ขะแมร์บน ได้แก่คนไทยในจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ สระแก้ว ตราด) ซึ่งจะมีภาษาการพูดแบบของตัวเองที่ไพเราะ และอ่อนช้อยในตัวซึ่งเสน่ห์ในการดึงดูดอีกแบบหนึ่ง
ขะแมร์กันดาล ( คือ ชาวกัมพูชาในประเทศกัมพูชา ) มีลักษณะการพูดจาอีกแบบหนึ่งที่คล้ายคลึงกันแต่เนื่องจากขะแมร์กันดาลนั้นได้รับอิทธิพลจากเวียดนามากกว่าที่จะได้รับวัฒนธรรมจากแบบดั้งเดิมจึงทำให้สำเนียงการพูดนั้นผิดไปจากรูปไวยากรณ์เดิมซึ่งฟังแล้วรู้สึกแข็งๆไม่ไพเราะสักเท่าไรนัก
ขะแมร์กรอม ( ขะแมร์ต่ำ) คือ บางส่วนของจังหวัดเวียดนาม การพูดจานั้นจะไปข้างเวียดนามจนแทบจะไม่เหลือภาษาแบบดั้งเดิมของตัวเองแล้วแต่ยังมีการเรียนภาษาของตัวเองอยู่ในตามวัดบางแห่งเท่านั้น
คำว่าเขมร มาจากคำว่า เขมระ มาจากภาษาบาลี ที่แปลว่า เกษม ซึ่งรากศัพท์เดิมในการเขียนตามจารึกต่างๆได้เขียนคำว่า ขะแมร์คือ กะแมร์ หรือ ที่ว่า เกษม นั่นเองแต่เกิดการวิบัติทางภาษาในยุคสมัยเริ่มเปลี่ยน อีกคำว่า เขมรา โดยมาจาก บาลี ว่า เขมํ ยสฺส อตฺตีติ เขมโร. "ខេមំ យស្ស អត្ថីតិ ខេមរោ" หรือพหุวจนะ เขมํ เยสมตฺตีติ เขมรา. แปลว่า มนุษย์ มีความเกษม. หรือที่ว่ามีความสุขนั่นเอง
คำว่า ขอม ก็คือ เป็นชื่อของประเทศกัมพูชา ในสมัยก่อน หรือ คนไทยเรียกคนขะแมร์ว่า (ขอม) กัมโพชะ แต่คนไทยในสมัยหลังอยุธยา เรียกว่า ขอม (កម្ពោជ) โดยที่จริงแล้วต้องออกเสียงว่า กอม หรืออีกนัยอาจเป็นเพราะว่าประเทศกัมพูชานั้นอยู่ในส่วนที่ราบลุ่มน้ำจึงเรียนอาจมาจากคำว่า กรอม นั่นเอง แต่ที่จริงแล้วคำว่า ขอม นั่นคือคำเรียก ขะแมร์ ทุกคนครับจนบัดนี้ผมจึงได้เข้าใจคำว่า ขอม เขมร์ ขะแมร์ นั่นเป็นคำยังคงซึ่งวัฒนธรรมให้อยู่และเห็นคุณค่าวัฒนธรรมตัวเองเพื่อไม่ให้วัฒนธรรมเหล่านั้นสูญหายไปครับ
ผมเขียนขึ้นตอนผมเริ่มสนใจวัฒนธรรมเขมร ซึ่งอิงมาจาก เอกสารของ ม.ราชภัฏสุรินทร์,กับของ มช. ครับผม ลองเปลี่ยนมุมมองของประวัติศาสตร์แล้วข้ามเขตไร้พรมแดน ดูครับผม อิอิ
แสดงความคิดเห็น